จีน มหาอำนาจ ตัวจริง ในอนาคต

มาในธีม จังหวะจะจีน ผมขอวิเคราะห์ประเด็น “การก้าวขึ้นสู่บัลลังก์มหาอำนาจอันดับ 1 ของจีน” ให้อ่านกันดังนี้ครับ
ใน “เศรษฐศาสตร์มนุษยนิยม” เรือธง ที่นำ “จีน” สู่ “มหาอำนาจหมายเลขหนึ่ง” Elizabeth C. Economy นักวิชาการอาวุโสแห่งสถาบัน Cornelius Vander Starr และผู้อำนวยการสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ Council on Foreign Relations: CFR เจ้าของหนังสือ The Third Revolution กล่าวว่า
“สี จิ้นผิง” กำลังสร้าง “กำแพงเมืองจีนใหม่” หรือนัยของการนำความยิ่งใหญ่ของจีนกลับมาอีกครั้ง สิ่งที่สร้างความเด่นล้ำของ “สี จิ้นผิง” ซึ่งแตกต่างกับผู้นำจีนคนก่อนๆ ก็คือ นโยบายการกระจายอำนาจ
“กำแพงเมืองจีนใหม่” ของ “สี จิ้นผิง” คือการสร้าง “กำแพงเสมือนจริง” เพื่อควบคุมความเคลื่อนไหวของเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศและไหลออกจากประเทศอย่างเข้มงวด อีกทั้งการประนีประนอมกับการควบคุมความเคลื่อนไหวทางความคิดของสังคม และผลักดันวัฒนธรรมจีนให้กลายเป็นอารยธรรมสากล สิ่งเหล่านี้คือการตอกย้ำถึงความเข้มแข็งของรัฐ ทั้งภาคเศรษฐกิจ การเมือง และประชาสังคมแบบเบ็ดเสร็จ รวมถึงการเพิ่มบทบาทของจีนอย่างเต็มกำลังบนเวทีโลกมากขึ้นดังที่กล่าวไป

จีน มหาอำนาจ ตัวจริง ในอนาคต

ใน “เข็มขัดรัดรึง…เมื่อ One Belt One Road เจอกับ Indo Pacific” จีนจึงประกาศนโยบาย The Belt and Road Initiative (BRI) หรือ The Silk Road Economic Belt and the 21st Century Maritime Silk Road เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 หรือที่รู้จักกันในนาม One Belt One Road
One Belt One Road หรือ “เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21” เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) โดยประธานาธิบดี “สี จิ้นผิง” ผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้เสนอโครงการดังกล่าวผ่าน 3 แผนงาน คือ 1) แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงระหว่างประเทศ การจัดสรรแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย และกองทุนเส้นทางสายไหม 2) แผนการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และ 3) แผนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
จีน มหาอำนาจ ตัวจริง ในอนาคต
ประธานาธิบดี “สี จิ้นผิง” ผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
The State Council, The People’s Republic Of China (2558) หรือ สภาแห่งรัฐของจีน ได้กล่าวถึง The Silk Road Economic Belt หรือเส้นทางบนบกว่า นี่คือความร่วมมือในการสร้างวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจระหว่างชาติต่างๆ ตามแนวถนน ทางรถไฟ ส่วนเส้นทางเดินเรือหรือ Maritime Silk Road นั้น อักษรศรี พานิชสาส์น (2556) เรียกการรุกคืบทางทะเลของจีนในครั้งนี้ว่า “ยุทธศาสตร์สร้อยไข่มุก”
CEBR หรือ Center for Economics and Business Research (ศูนย์วิจัยนโยบายเศรษฐศาสตร์และธุรกิจแห่งสหราชอาณาจักร) คาดการณ์ว่า “จีน” จะก้าวขึ้นนำหน้า “สหรัฐอเมริกา” ในฐานะประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ในปี ค.ศ. 2028
เร็วขึ้นกว่าที่คาดไว้เดิม 5 ปี!
เหตุผลสำคัญก็คือ ปัญหา COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ (“จีน” และ “สหรัฐอเมริกา”) มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก
Center for Economics and Business Research ระบุว่า COVID-19 นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลกอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง กลับกลายเป็นว่า ปัญหาดังกล่าว กลับไปการผลักดันให้ “จีน” มีความได้เปรียบในเรื่องของการแก้ปัญหา COVID-19 มากกว่า

จีน มหาอำนาจ ตัวจริง ในอนาคต

Center for Economics and Business Research กล่าวต่อไปว่า ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏออกมา ได้ยืนยันว่า “จีน” มีสมรรถนะในการบริหารจัดการกับปัญหา COVID-19 ได้มากกว่า “สหรัฐอเมริกา” หรืออีกนัยหนึ่ง มากกว่าทุกประเทศบนโลกใบนี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเกิดปัญหา COVID-19 ขึ้นที่ “อู่ฮั่น” นั้น “จีน” ได้ดำเนินการวางแผน ริเริ่ม และลงมือแก้ปัญหาดังกล่าวให้ลุล่วงลงไปได้เป็นอย่างดี

 

โดยใช้มาตรการ Lockdown อย่างเข้มงวดตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่โลกทราบว่า COVID-19 เริ่มแพร่ระบาดจาก “อู่ฮั่น”

จากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้ Center for Economics and Business Research คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจ “จีน” จะมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.7% ต่อปี ในช่วงปี ค.ศ. 2021 ถึงปี ค.ศ. 2025
ก่อนที่จะชะลอตัวลงอยู่ที่ระดับ 4.5% ต่อปี ในระยะ 5 ปีหลังจากนั้น (ปี ค.ศ. 2026 ถึงปี ค.ศ. 2031)

จีน มหาอำนาจ ตัวจริง ในอนาคต

ขณะที่เศรษฐกิจของ “สหรัฐอเมริกา” ที่มีแนวโน้มว่า อาจจะมีอัตราการฟื้นตัวได้เร็ว และแรง ในปี ค.ศ. 2021 นี้ หลังจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ได้คลี่คลายตัวลง
ประเด็นสำคัญก็คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ “สหรัฐอเมริกา” มีสัญญาณชะลอตัวลง จนลดเหลือเพียง 1.9% ต่อปี ระหว่างปี ค.ศ. 2022 ถึงปี ค.ศ. 2024 และลดลงเหลือที่ 1.6% ต่อปี หลังจากนั้นเป็นต้นไป
ต่อประเด็นดังกล่าว Center for Economics and Business Research ได้วิเคราะห์ต่อไปว่า นอกจาก “จีน” กับ “สหรัฐอเมริกา” แล้ว “ญี่ปุ่น” จะยังยืนอยู่ในอันดับที่ 3 ของ “ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก” อยู่ต่อไป อย่างน้อยก็จนถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 2030
หลังจากนั้น Center for Economics and Business Research ได้ประเมินว่า “ญี่ปุ่น” จะถูกแซงโดย “อินเดีย”

จีน มหาอำนาจ ตัวจริง ในอนาคต

โดยหลังจากนั้น Domino ก็จะถูกสลับไพ่ ดันให้ “เยอรมนี” เลื่อนลงไปอยู่อันดับที่ 5 ตามมาด้วย “สหราชอาณาจักร” ซึ่งจะสูญเสียตำแหน่ง “ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก” จากอันดับที่ 5 ลงไปเป็นอันดับที่ 6 ช่วงหลังจากปี ค.ศ. 2024 เป็นต้นไป
Center for Economics and Business Research ทิ้งท้ายว่า ผลกระทบที่ COVID-19 ได้สั่นสะเทือนระบบเศรษฐกิจโลกนั้น จะออกมาในรูปของ “ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น” โดยที่ไม่ใช่ในแง่ของ “การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ช้าลง”
และถึงที่สุดแล้ว แนวโน้มทางเศรษฐกิจเมื่อโลกใบนี้ย่างก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2030 ก็คือ การให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อควรคำนึงในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นนั่นเองครับ

 

Post Views: 1,677

  • TAGS
  • Covid-19
  • One Belt One Road
  • จีน
  • มหาอำนาจ
  • สี จิ้นผิง
  • เศรษฐกิจ
  • เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21

Previous articleสาลิกาคาบข่าว Vol.54

Next articleเรียนออนไลน์ Reskill-Upskill-Newskill ยังไงให้ได้เงินล้าน ไอเดียชวนปล่อยของ ประลองฝีมือ จาก Platzi

จีน มหาอำนาจ ตัวจริง ในอนาคต

Jakkrit Siririn

ดร.จักรกฤษณ์ สิริริน เจ้าของนามปากกา “นกป่า อุษาคเนย์” อยู่ในวงการสื่อสารมวลชนมา 25 ปี ทั้งนักข่าว นักเขียน บรรณาธิการ มาเป็น ดร.ด้านการศึกษา ผ่านประสบการณ์ทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน จะมาแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม